การคำนวน เฟือง ตรง และ เฟืองเเฉียง หน่วยเป็น มม.
เฟือง คือ ชิ้นส่วนถ่ายทอดกำลัง ที่สามารถเปลี่ยนแปลงความเร็วรอบ และ ทิศทางในการหมุน
M= Module เฟือง คือ
P= ระยะ piich คือ ระยะห่างระหว่างฟันต่อฟันโดยวัดตามแนวเส้นรอบวงพิช
Z= จำนวนฟัน เฟือง
d= เส้นผ่านศูนย์กลาง (เส้นผ่านศูนย์พิต)
da=เส้นผ่านศุนย์กลาง ยอดฟัน
df=เส้นผ่านศุนย์กลาง โคนฟัน
h= ความสูงฟัน
c= ระยะห่างเฟือง
Pi= ค่า พาย (22/7)
สูตรในการคำนวณ
M= P/ pi = d/z = da/z+2
p= pi*m = pi*d/z = pi*da/z+2
Z= d/m = pi*d/p =da-2*m/m
d= m.z =p*z/pi =da-2*m
ความเป็นมาของเฟือง
ปัจจุบันเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ก้าวหน้าไปมาก ทำให้วงการอุตสาหกรรมต่างๆเจริญรุดหน้าไปมากขึ้นทุกที จะเห็นได้ว่าการผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ก็ได้อาศัยเครื่องจักรที่ทันสมัย จนถึงขั้นผลิตด้วยเครื่องอัตโนมัติ และควบคุมการผลิตด้วยสมองกล สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ จึงสนองความต้องการของตลาดได้อย่างรวดเร็ว ผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งที่เกือบทุกๆครอบครัวจะมีคือพวกของเล่นเด็ก ซึ่งถ้าเรามองเฉพาะตัวสินค้าแล้วก็จะเห็นมีมากมายหลายชนิด มีชนิดหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากเด็กๆ คือของเล่นที่สามารถเคลื่อนไหวได้ ซึ่งจำลองจากของจริง เช่น รถ เครื่องบิน เรือ และหุ่นต่างๆ เครื่องเล่นเหล่านี้เคลื่อนไหวได้อย่างไร อะไรเป็นตัวที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว
ปัญหานี้หลายท่านก็คงจะตอบได้ว่า เพราะแบตเตอร์รี่ เพราะมอเตอร์ เพราะสปริง หรือต้นกำลังอื่นๆ ที่จะไปทำให้เกิดการขับเคลื่อนได้ แต่มีชิ้นส่วนที่สำคัญชนิดหนึ่งซึ่งจะขาดเสียไม่ได้ ก็คือ "เฟือง" ซึ่งเป็นตัวช่วยส่งกำลังหรือถ่ายทอดการหมุนจากต้นกำลังต่างๆ อันที่จะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวได้
หลักการของเฟืองเป็นอย่างไร
การถ่ายทอดการหมุนจากต้นกำลังนั้น ทำได้หลายวิธี เช่น ด้วยการใช้สายพาน โซ่ ล้อความฝืด เป็นต้น ล้อความฝืดก็คือ ล้อสองล้อที่ถูกกดให้ติดกัน เมื่อล้อหนึ่งหมุน หรือเป็นล้อขับก็จะทำให้อีกล้อหนึ่งหมุนตาม เพราะผิวหน้าของล้อทั้งสองเกิดความฝืด เนื่องจากการสัมผัส แต่ถ้าหากมีภาระมากๆ เช่น มีการส่งกำลังสูงๆ จะทำให้เกิดการลื่นไถล การส่งกำลังจึงไม่แม่นยำ เพื่อที่จะแก้ไขข้อเสียเหล่านี้จึงได้มีการนำเอาฟันเฟืองมาติดไว้ที่ผิวของล้อโดยรอบล้อ จึงมีลักษณะเป็นล้อฟันเฟือง ซึ่งต่อๆมาเราจึงเรียกว่า "เฟือง" ซึ่งเป็นชิ้นส่วนที่สามารถส่งกำลังหรือถ่ายทอดการหมุนได้แม่นยำเที่ยงตรง และไม่มีการลื่นไถล ดังรูปที่ 1.